เมนู

อรรถกถาทุติยสรกานิสูตร



พึงทราบอธิบายในทุติยสรกานิสูตรที่ 5.
บทว่า นาที่ไม่ราบเรียบ ได้แก่นาที่ไม่เสมอกัน. บทว่า มีพื้นไม่ดี
ได้แก่ มีพื้นกระด้าง ประกอบด้วยความเค็ม. บทว่า แตกร้าว ได้แก่ แตก
ทั่วไป. บทว่า เสีย ได้แก่ ชุ่มน้ำแล้วก็เปื่อยเน่า. บทว่า ถูกลมและแดด
กระทบแล้ว
ความว่า ถึงความไม่มีรส เพราะลมและแดดกระทบแล้ว บทว่า
ไม่แข็ง ได้แก่ ไม่ถือเอาแก่น คือยังไม่เกิดแก่น. บทว่า เก็บไว้ไม่ดี
ความว่า ใส่ไว้ในฉางเป็นต้นเก็บไว้ดีหามิได้. บทว่า เก็บไว้ดีแล้ว
ความว่า ไม่งอกตลอด 4 เดือนจากที่ ที่เก็บไว้.
จบอรรถกถาทุติยสรกานิสูตรที่ 5

2. ปฐมทุสีลยสูตร



จำแนกโสดาปัตติยังคะ 4 ด้วยอาการ 10



[1548] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคน
หนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขา
ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่าง

นี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความ
อนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำ
ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน
อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสอง
ของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์
ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
[1549] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและ
จีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก-
คฤหบดีแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิก
คฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้
หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฎ ความ
กำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
กระผมอดทนไม่ได้ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบ
หนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฎ.
[1550] สา. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วย
ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น
ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้
เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็
เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน เวทนา
จะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[1551] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่
เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อม
ใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1552] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่
เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน
ส่วนท่านมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่าน
เห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบ
ระงับโดยพลัน.
[1553] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็น
ผู้ทุศีลเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีลที่พระอริยเจ้า
ใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่
แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1554] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจ-
ฉาทิฏฐิเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มิจฉาทิฏฐิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อ
ท่านเห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[1555] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา.
สังกัปปะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มิจฉาสังกัปปะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ
ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1556] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจา
เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
มิจฉาวาจาเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่าน
เห็นสัมมาวาจานั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1557] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา.
กัมมันตะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มิจฉากัมมันตะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมากัมมันตะ
ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันตะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1558] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา-
อาชีวะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
มิจฉาอาชีวะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อ
ท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1559] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา-
วายามะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
มิจฉาวายามะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อ
ท่านเห็นสัมมาวายามะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงระงับโดยพลัน.
[1560] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติ
เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสันมาสติ ก็เมื่อท่านเห็น
สัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1561] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา
สมาธิ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มิจฉาสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็
เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1562] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา.
ญาณะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มิจฉาญาณะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็
เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1563] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา
วิมุตติ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก มิจฉาวิมุตติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวิมุตติ ก็
เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
[1564] ครั้งนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีสงบระงับ
แล้วโดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอังคาสท่านพระสารีบุตรและท่านพระ-
อานนท์ด้วยอาหารที่เขาจัดมาเฉพาะตน ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำอัน
หนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถา
เหล่านี้
[1565] ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ในพระตถาคต มีศีลอันงามที่พระอริยเจ้า
ใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใส

ในพระสงฆ์ และมีความเห็นอันตรง บัณ-
ฑิตทั้งทลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของผู้นั้น ไม่เปล่าประโยชน์.
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อ
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความ
เลื่อมใสและความเห็นธรรม.

[1566] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรครั้นอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้
แล้วจึงลุกจากอาสนะหลีกไป.
[1567] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ เธอมาจากไหนแต่ยังวัน ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทข้อนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมี
ปัญญามาก ได้จำแนกโสดาปัตติยังคะ 4 ด้วยอาการ 10 อย่าง.
จบปฐมทุสีลยสูตรที่ 6

อรรถกถาปฐมสีลยสูตร



พึงทราบอธิบายในปฐมทุสีลยสูตรที่ 6.
คำว่า เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน ได้แก่ เวทนาพึงระงับ
ในขณะ. คำว่า ด้วยมิจฉาญาณะ ได้แก่ ด้วยการพิจารณาที่ผิด. คำว่า
ด้วยมิจฉาวิมุตติ ได้แก่ ด้วยการหลุดพ้นที่ไม่นำออกจากทุกข์. คำว่า
ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ท่านได้กล่าวไว้ในคาถาแล้วทีเดียว. คำว่า
ยตฺร หิ นาม เท่ากับ โย นาม.
จบอรรถกถาปฐมสีลยสูตรที่ 6

7. ทุติยทุสีลยสูตร



กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม 4 ประการ



[1568] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่ง
มาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์
ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก
ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่าง-
นี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุ-
เคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของ